ลำดับ | ผลผลิต | จำนวน (ตัน) | ชีวมวล | ความชื้น | อัตราส่วนชีวมวล | ปริมาณ(ตัน) | ปริมาณที่ถูกใช้งาน (ตัน) | ปริมาณคงเหลือ (ตัน) | |
ต่อผลผลิต | ตันต่อไร่ | ||||||||
1 | ข้าว | 25,000,000 | แกลบ | 12.30% | 0.21 | 5,250,000 | 5,000,000 | 250,000 | |
2 | ฟางข้าว | 13.30% | 0.49 | 12,250,000 | 0 | 12,250,000 | |||
3 | อ้อย | 80,000,000 | กากอ้อย | 50.00% | 0.28 | 14,000,000 | 14,000,000 | 0 | |
4 | ยอดและใบ | 9.20% | 0.17 | 8,500,000 | 0 | 8,500,000 | |||
5 | ไม้ยางพารา | 250,000 | ขี้เลื่อย | 55% | 3,000 | 750,000 | 60,000 | 690,000 | |
6 | ปีกไม้ | 55% | 12 | 3,000,000 | 800,000 | 2,200,000 | |||
7 | ปลายไม้ | 55% | 12 | 3,000,000 | 300,000 | 2,200,000 | |||
8 | รากไม้ | 55% | 5.2 | 1,250,000 | 100,000 | 1,150,000 | |||
9 | ปาล์มน้ำมัน | 6,000,000 | กากใยปาล์ม | 38.50% | 0.13 | 650,000 | 600,000 | 50,000 | |
10 | กะลาปาล์ | 12.00% | 0.12 | 680,000 | 500,000 | 100,000 | |||
11 | ทะลายเปล่า | 58.60% | 0.2 | 1,080,000 | 600,000 | 400,000 | |||
12 | ทางปาล์ม | 78.00% | 1.41 | 7,050,000 | 1,000,000 | 6,050,000 | |||
13 | มันสำปะหลัง | 20,000,000 | เหง้ามัน | 59.40% | 0.2 | 3,400,000 | 50,000 | 3,350,000 | |
14 | ข้าวโพค | 5,000,000 | ซังข้าวโพค | 40.00% | 0.24 | 1,200,000 | 200,000 | 1,000,000 | |
15 | ซังข้าวโพค | 42.00% | 0.82 | 4,100,000 | 300,000 | 3,800,000 | |||
16 | ไม้ยูคาลิปตัส | 600,000 | เปลือกไม้ | 63.00% | 3 | 1,800,000 | 500,000 | 1,300,000 | |
รวม | 6,780,000 | 24,010,000 | 43,290,000 |
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการเกษตรกรรมอย่างกว้างขวาง ในแต่ละปีจะมีผลพลอยได้จากผลผลิตทางการเกษตร หรือวัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรกรรม เช่น ฟางข้าว แกลบ กากอ้อย กาก ใย ทะลายปาล์มเป็นต้น ปริมาณของวัสดุชีวมวลที่เหลือทิ้งในแต่ละปีขึ้นกับผลผลิตการเกษตร โดยในปี 2549ดังตารางที่ 1 มีปริมาณสรุปได้ดังต่อนี้
ข้าว เป็นพืชที่มีความสำคัญมากในประเทศไทย ในแต่ละปีจะมีผลผลิตประมาณ 25 ล้านตัน โดยการผลิตข้าวของประเทศมักจะมีวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญ คือ แกลบและฟางข้าว โดยแกลบจะมีปริมาณการใช้งานสูงสุดคือ 5 ล้านตันต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ไปในการผลิตไฟฟ้าและการใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทน ส่วนที่เหลือจะมีเพียง 250,000 ตันต่อปีเท่านั้น ส่วนฟางข้าวจะเป็นเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญที่สุดเพราะมีปริมาณสูงถึง 12.25 ล้านตันต่อปีและยังไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์เท่าที่ควร และประมาณการว่ามีซังข้าวที่ค้างอยู่ในพื้นที่เพาะปลูกมากกว่า 2.5 ล้านตันปีที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะเผาทำลายเพื่อเตรียมพื้นที่ในการเพาะปลูกในฤดูกาลต่อไป
อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกอย่างของประเทศไทย ปัจจุบันผลผลิตของอ้อยมีจำนวนทั้งสิ้น 80 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีวัสดุเหลือทิ้งจากอ้อยหลายอย่าง เช่น กากอ้อย ยอดและใบอ้อย โดยปกติกากอ้อยจะถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าในโรงงานทั้งหมด ส่วนยอดและใบอ้อยมีปริมาณเหลืออยู่ 8.5 ล้านตันซึ่งยังไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์เพราะขาดเทคโนโลยีในการนำไปใช้ ซึ่งทำให้เศษวัสดุจากอ้อยนี้มักจะเป็นปัญหาในการกำจัดส่วนเกินออกจากพื้นที่เกษตรกรรม
ไม้ยางพารา เป็นพืชที่ประเทศไทยเพาะปลูกมากที่สุดในโลก และยังเป็นพืชที่มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม มีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์จากยางพาราประมาณ 250,000 ตันต่อปี โดยส่วนใหญ่จะมีวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตไม้ยางพาราในแต่ละปี คือ ขี้เลื่อย ปีกไม้ ปลายไม้ รากไม้ ทั้งนี้วัสดุเหลือใช้ที่ได้จากขี้เลื่อยจะมีปริมาณเหลืออยู่ 690,000 ตันต่อปี ปีกไม้จะมีปริมาณเหลืออยู่ 2.2 ล้านตันต่อปี ปลายไม้ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือมากที่สุดจะมีปริมาณเหลืออยู่ 2.7 ล้านตันต่อปี ส่วนรากไม้ยางพาราจะมีปริมาณเหลือเพียง 1.15 ล้านตันต่อปี ที่ชาวสวนมักจะกำจัดโดยการเผาทิ้ง
ปาล์มน้ำมัน อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีแนวโน้มของอัตราเติบโตที่สูงขึ้นในแต่ละปีเนื่องจากความต้องการนำไปใช้ผลิตน้ำมันไบโอดีเซลนั่นเอง ปัจจุบันประเทศไทยมีผลผลิตน้ำมันปาล์มประมาณ 5 ล้านตันต่อปี ซึ่งเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญคือ กากใยปาล์ม กะลาปาล์ม ทะลายเปล่า และทางปาล์ม โดยกากใยปาล์มมีปริมาณเหลือเพียงเล็กน้อยคือ 50,000 ตัน กะลาปาล์มมีปริมาณเหลือ 100,000 ตันในแต่ละปี ส่วนทะลายปาล์มมีปริมาณเหลือ 400,000 ตัน และทางปาล์มเป็นเศษวัสดุที่เหลือทิ้งที่มีปริมาณมากที่สุดและมีการนำกลับไปใช้งานน้อยที่สุด ซึ่งในแต่ละปีจะมีเหลือประมาณ 6.5 ล้านตัน
มันสำปะหลัง เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความต้องการสูงขึ้นมากในหลายปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ที่ 17 ล้านตัน โดยมีเหง้ามันเป็นวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีปริมาณมากที่สุดคือประมาณ 3.4 ล้านตันต่อปี ซึ่งมีการนำกลับไปใช้งานเพียงเล็กน้อยและเหลืออยู่ในระบบประมาณ 3.35 ล้านตัน
ข้าวโพด เป็นพืชที่มีความสำคัญเป็นอันดับ 4 ของประเทศ และยังมีความต้องการในปริมาณมากแต่ละปี โดยปัจจุบันมีผลผลิตข้าวโพดประมาณ 5 ล้านตันต่อปี โดยมีเศษวัสดุเหลือทิ้งที่สำคัญคือ ซังข้าวโพด ซึ่งมีปริมาณเหลืออยู่ในระบบประมาณ 3.8 ล้านตันต่อปี
ไม้ยูคาลิปตัส เป็นพืชที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมกระดาษอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันมีความต้องการเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี และเนื่องจากเป็นพืชที่เลี้ยงดูง่ายและเติบโตได้รวดเร็วจึงเป็นที่นิยมปลูกของเกษตรกร ขณะนี้พบว่ามีผลผลิตไม้ยูคาลิปตัสประมาณ 600,000 ตันต่อปี ซึ่งพบว่าเศษเปลือกไม้เป็นวัสดุเหลือทิ้งที่มากที่สุด โดยมีปริมาณเหลืออยู่ 1.8 ล้านตันต่อปี และมีการนำกลับมาใช้ประโยชน์เพียง 500,000 ตัน ซึ่งทำให้เหลือเป็นวัสดุเหลือทิ้งอยู่มากถึง 1.3 ล้านตันต่อปี
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นสามารถสรุปได้ในตารางที่ 3.1 ซึ่งสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ว่าการนำวัสดุชีวมวลที่ได้จากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรของประเทศไทยมีจำนวนมากพอที่จะนำมาใช้ผลิตเป็นพลังงานและเชื้อเพลิงชีวมวลทดแทนการใช้พลังงานจากน้ำมันปิโตรเลียม โดยเมื่อคำนวณเป็นพลังงานความร้อนจากวัสดุชีวมวลปริมาณ 43.29 ล้านตันต่อปี จะได้พลังงานที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงถึง 414,600 TJ หรือ 9,817 ktoe ซึ่งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการใช้วัสดุชีวมวลเป็นวัตถุดิบในการลงทุนเพื่อผลิตพลังงานและเชื้อเพลิงชีวมวล
ตารางที่ 3.1 แสดงปริมาณวัสดุชีวมวลจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในประเทศไทย